10 สถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตปี 2015 ที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่
เชียงใหม่เมืองที่เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย
ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายแห่งเป็นอันดับต้น ๆ
ของประเทศไทย
ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนช่วงเวลาไดของประเทศ
สำหรับคนที่มองหาร ที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ มีบรรยากาศ
อากาศที่ดีไม่ร้อนจนเกินไป หรือสัมผัสบรรยากาศแบบหนาว ๆ
ที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่นั้นสามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้เยอะมาก หรือการมาเที่ยวชิมอาหาร
ของกินเชียงใหม่
หรือของกินของชาวเหนือลานนา ที่ยังไม่มีให้เห็น
การพูดจาด้วยภาษาเหนือของผู้คนในท้องถิ่นที่คงเอกลักษณ์ของสำเนียง
ภาษาพูดที่กำเนิดจากวัฒนธรรมที่มีอยู่อย่างยาวนาน
สถานที่ท่องเที่ยวทางด้านประวัติศาสตร์โบราณสถาน
ซึ่งหาชมได้ง่ายมากทั้งในตัวเมือง ไม่ว่าจะเป็นวัด หรือเจดีย์วัดเก่า ต่าง ๆ
ในตัวเมือง สถานที่ประวัติศาสตร์อันสำคัญ สถานที่ประดิษฐ์
ผลิตสินค้าพื้นบ้าน หัตถกรรมของคนพื้นเมือง งานฝีมือต่าง ๆ
ที่สามารถเดินทางไปชมได้ทันทีที่มาถึง
สถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติซึ่งมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเดินป่า
การขึ้นไปสัมผัสอากาศบนระดับความสูง 2,565 เมตร จากน้ำทะเล
ซึ่งจะได้พบกับพืชพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ดอกไม้เมืองหนาวที่ผลิบานออกดอกสวยงาม
ทั้งป่าสนที่มีมอสปกคลุม ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของป่าที่อยู่บนความสูงระดับ
บนระดับความสูงที่เป็นอันดับ 1 ของภูเขาที่สูงที่สุดของประเทศไทย ก็คือ
ดอยอินทนนท์นั่นเอง ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง
แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน
และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิง การเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
ซึ่งอุทยานเหล่านี้ล้วนแต่มีสถานที่ท่องเที่ยว
และกิจกรรมให้ทำได้ตลอดทั้งวัน ซึ่งการมาท่องเที่ยวเชียงใหม่
ต้องมีการวางแผนที่ดี
ซึ่งจังหวัดเชียงใหม่นั้นมีที่ท่องเที่ยวเยอะทั้งกลางวันกลางคืน
มาครั้งเดียวอาจเที่ยวไม่พอไม่ทั่วถึง
อาจถึงขั้นต้องมาพักแบบระยะยาวเป็นเดือน ๆ เลยก็ว่าได้
เชียงใหม่ใครต่อใครก็คงนึกถึงเมืองเหนือที่ประกอบไปด้วยวัฒนธรรมประเพณีอันเป็เอกลักษณ์ของชาวล้านนา สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ ที่มีอยู่อย่างมากมาย เที่ยวเชียงใหม่ ครั้งเดียวไม่สามารถเที่ยวได้ทั่วถึง ต้องมากันหลาย ๆ รอบ หรือพักกันอยู่แบบยาว ๆ กันเลย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แตกต่าง ภาษาพูดที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างมาก ที่คนพื้นบ้านสื่อสารออกกับผู้มาเยือนได้อย่างไพเราะเสนาะหู หรืออาหารการกินที่มีความอร่อย ของกินเชียงใหม่ งานหัตถกรรม งานฝีมือต่าง ๆ ที่มีการทำขึ้นมาด้วยความประณีต หัตถกรรมพื้นบ้านที่สืบทอดกันมายาวนาน 10 สถานที่ท่องเที่ยวเชียงใหม่ เหล่านี้ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลัก ๆ ของการ เที่ยวเชียงใหม่ ในปี 2015
- ดอยสุเทพ-ปุย
ดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1929 ในสมัยพญากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6
แห่งอาณาจักรล้านนา ราชวงศ์มังราย
พระองค์ทรงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุองค์ ใหญ่
ที่ได้ทรงเก็บไว้สักการบูชาส่วนพระองค์ถึง 13 ปี มาบรรจุไว้ที่นี่
ด้วยการทรงอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อเสี่ยงทายสถานที่ประดิษฐาน
พอช้างมงคลเดินมาถึงยอดดอยสุเทพ มันก็ร้องสามครั้ง พร้อมกับทำประทักษิณสาม
รอบ แล้วล้มลง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯให้ขุดดินลึก 8 ศอก กว้าง 6 วา 3 ศอก
หาแท่นหินใหญ่ 6 แท่น มาวางเป็นรูปหีบใหญ่ในหลุม
แล้วอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุลงประดิษฐานไว้ จากนั้นถมด้วยหิน
แล้วก่อพระเจดีย์สูง 5 วา ครอบบนนั้น
ด้วยเหตุนี้จึงห้ามพุทธศาสนิกชนที่ไปนมัสการสวมรองเท้าใน บริเวณพระธาตุ
และมิให้สตรีเข้าไปบริเวณนั้น ในปี พ.ศ. 2081 สมัยพระเมืองเกษเกล้า
กษัตริย์องค์ที่ 12 ได้โปรดฯให้เสริมพระเจดีย์ให้สูงกว่าเดิม เป็นกว้าง 6
วา สูง 11 ศอก พร้อมทั้งให้ช่างนำทองคำทำเป็นรูปดอกบัวทองใส่บนยอดเจดีย์
และต่อมาเจ้าท้าวทรายคำ ราชโอรสได้ทรงให้ตีทองคำเป็นแผ่นติดที่พระบรมธาตุ
- วัดพระธาตุดอยคำ
วัดพระธาตุดอยคำ
เป็นวัดที่มีความสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี
ตั้งอยู่บริเวณดอยคำ ด้านหลังอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 10
กิโลเมตร วัดพระธาตุดอยคำปัจจุบันมี พระครูสุนทรเจติยารักษ์ (ครูบาพิณ)
เป็นเจ้าอาวาส โดยไม่มีพระลูกวัด
พระเจ้าทันใจ แห่งวัดพระธาตุดอยคำ
ซึ่งสร้างในรัชสมัยพญากือนา กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา
ปัจจุบันมีชื่อเสียงอย่างมากในเรื่องของความศักดิ์สิทธิ์
มีประชาชนจำนวนมากได้ไปบนบานและประสบความสำเร็จตามที่ขอพร
โดยการแก้บนจะแก้บนด้วยพวงดอกมะลิ โดยในแต่ละวัน
จะมีประชาชนขึ้นไปบนบานมากกว่าร้อยคน โดยเฉพาะในวันหยุดนักขัตฤกษ์
จะมีประชาชนที่ไปบนบานมากกว่าพันคน
วัดพระธาตุดอยคำสร้างในรัชสมัยพระนางจามเทวีกษัตริย์แห่งหริภุญชัย
โดยพระโอรสทั้ง 2 เป็นผู้สร้างในปี พ.ศ. 1230
ประกอบด้วยเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
ศาลาการเปรียญกุฏิสงฆ์ และพระพุทธรูปปูนปั้น เดิมชื่อวัดสุวรรณบรรพต
แต่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดดอยคำ"
พ.ศ.
2509 ขณะนั้นวัดดอยคำเป็นวัดร้าง ต่อมากรุแตกชาวบ้านพบโบราณวัตถุหลายชิ้น
เช่น พระรอดหลวง พระหินทรายปิดทององค์ใหญ่ พระสามหมอ (เนื้อดิน)
ซึ่งนำมาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระธาตุดอยคำ
พระธาตุดอยคำนอกจากจะเป็นที่สักการบูชาของคนท้องถิ่นแล้ว
ยังเป็นสัญลักษณ์อีกแห่งหนึ่งของการบินไทยที่ใช้กำหนดพื้นที่ทางสายตา
ก่อนที่จะนำเครื่องบินลงจอดที่สนามบินเชียงใหม่ เทือกเขาถนนธงชัย
ด้านทิศตะวันตกบนเทือกเขาเหล่านั้นจะเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเจดีย์สำคัญ
และเก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ถึง 2 องค์พระเจดีย์
แต่ละแห่งถูกสถาปนาขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ในสมัยหริภุญชัยและล้านนาตาม ลำดับ
หนึ่งในนั้นคือพระธาตุดอยคำ อยู่บนยอดเขาเล็ก ๆ
สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ 200 เมตร
อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเมืองเชียงใหม่ เรียกว่า “พระธาตุดอยคำ”
เคยเป็นที่อยู่อาศัยของยักษ์สองผัวเมีย ชื่อ จิคำและตาเขียวมาก่อน
ซึ่งต่อมาชาวบ้านได้เรียกยักษ์ทั้งสองนี้ว่า “ปู่แสะ – ย่าแสะ”
ปู่แสะย่าแสะมีลูก 1 คน ชื่อว่า “สุเทวฤๅษี” เหตุที่ได้ชื่อว่าดอยคำ
เนื่องจากศุภนิมิตที่ยักษ์ทั้งสองได้รับพระเกศาธาตุจากพระพุทธเจ้า
เกิดฝนตกหนักหลายวัน ทำให้น้ำฝนเซาะและพัดพาแร่ทองคำบนไหล่เขา
และลำห้วยไหลลงสู่ปากถ้ำเป็นจำนวนมาก จึงเรียกภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยคำ”
จากตำนานหลายฉบับได้กล่าวว่า
เทวดาได้นำพระเกศาธาตุที่พระพุทธเจ้าได้ประทานแก่ปู่แสะและย่าแสะ
นำขึ้นมาฝังและก่อสถูปไว้บนดอยแห่งนี้ และต่อมาในปี พ.ศ. 1230 เจ้ามหันตยศ
และเจ้าอนันตยศ 2 พระโอรสแฝดของพระนางจามเทวี
แห่งหริภุญชัยนครได้ขึ้นมาก่อเจดีย์ครอบพระสถูปเกศานั้นไว้
ส่วนพระเจดีย์แห่งที่ 2 ตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ทางทิศเหนือของดอยคำ คือ
พระธาตุดอยสุเทพ
- เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
(อังกฤษ: Chiang Mai Night Safari)
เป็นสวนสัตว์เปิดที่ตั้งอยู่ในตำบลแม่เหียะ ตำบลสุเทพ และ ตำบลหนองควาย
จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณด้านหลังทางทิศตะวันตกของอุทยานหลวงราชพฤกษ์
เป็นสวนสัตว์ของรัฐบาล ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานพัฒนาพิงคนคร
(องค์การมหาชน) เปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกเมื่อ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
และเปิดบริการอย่างเป็นทางการเมื่อ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549
ในระยะเริ่มแรกอยู่ในภายใต้การดูแลขององค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ
เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารีเป็นสวนสัตว์ที่เกิดขึ้นตามแนวคิดของ พ.ต.ท. ทักษิณ
ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่ 23[2] ถือเป็นสวนสัตว์กลางคืนแห่งแรกในประเทศไทย
และถือเป็นสวนสัตว์กลางคืนที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาดพื้นที่ 819 ไร่
ในปัจจุบันเชียงใหม่ไนท์ซาฟารีได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการที่สามารถ
ท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งวัน ทั้งในเวลากลางวัน และในเวลากลางคืน
ในเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
ในบางบริเวณจะมีการปล่อยสัตว์ที่ไม่เป็นอันตรายให้สามารถเดินและใช้ชีวิต
อย่างอิสระ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถชมและสัมผัสสัตว์อย่างใกล้ชิด
อาทิเส้นทางระหว่างประตูทางเข้าสวนสัตว์จนถึงทางเข้าอาคารหลัก
จะมีการปล่อยเก้งและกวางไว้อยู่ถาวร
รวมทั้งในบางช่วงของเส้นทางของในโซนเหนือและใต้
การท่องเที่ยว
• โซนเดิมชมสัตว์: เป็นเส้นทางเดินชมสัตว์รอบทะเลสาบ ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร ซึ่งในระหว่างทางยังเป็นที่ตั้งของ
o สวนสัตว์ดิจิตอล: การแสดงนวัตกรรมและสื่อทางเทคโนโลยี
o โลกของเด็ก: เครื่องเล่นสำหรับเด็ก
o อาณาจักรเสือ: แหล่งรวมของเสือหลากหลายสายพันธุ์หายากทั่วโลก
• โซนเหนือ: เส้นทางนั่งรถชมสัตว์ ประเภทสัตว์นักล่า
• โซนใต้: เส้นทางนั่งรถชมสัตว์ ประเภทสัตว์กินพืช
- ม่อนแจ่ม
ม่อนแจ่มตั้งอยู่ในอำเภอแม่ริม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียงแค่ 40 นาทีเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์พัฒนา
โครงการหลวงหนองหอย
ตั้งอยู่บริเวณหมู่บ้านม้ง หนองหอย อ.แม่ริม ม่อนแจ่ม
มีอากาศเย็นสบายตลอดปี มีหมอกยามเช้า สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ โดยรอบ
มองเห็นทิวเขาสลับกันไปไกลสุดลูกหูลูกตา
อีกด้านก็จะเป็นไร่ปลูกพืชต่างๆของโครงการหลวง บนยอดม่อนแจ่มมีพื้นที่
ไม่มากนักสามารถเดินชมได้จนทั่วได้อย่างสบาย
ม่อนแจ่ม"อยู่บนสันเขาบริเวณหมู่บ้านม้งหนองหอย เดิมที่บริเวณนี้ชาวบ้าน
เรียกว่ากิ่วเสือเป็นป่ารกร้าง ต่อมาชาวบ้านเข้ามาแผ้วถางและปลูกผิ่น
จนในท้ายที่สุดโครงการหลวงมาขอซื้อพื้นที่เข้า โครงการหลวงหนองหอย
เมื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการหลวง คุณแจ่ม-แจ่มจรัส สุชีวะ หลานของ
ม.จ. ภีศเดช รัชนี
ประธานมูลนิธิโครงการหลวงได้เข้ามาพัฒนาและปรับปรุงบริเวณ
ม่อนแจ่มให้
กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะในลักษณะ ของแค้มปิ้งรีสอร์ท บน
ม่อนแจ่ม สามารถชมได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก
ด้านหนึ่งมองลงไปจะเห็นทิวทัศน์ทิวทัศน์ของ อ.แม่แตง และอ.แม่ริม
เป็นอย่างดี ในวันที่ฟ้าเปิดเป็นใจมาก
สามารถมองเห็นไกลถึงดอยหลวงเชียงดาวและขุนเขาเขตในจังหวัดเชียงรายเลยที
เดียว แต่ที่พิเศษยิ่งกว่านั่นก็คือ ย่ำยามราตรีในคืนเดือนมืด
เมื่อแหงนหน้ามองฟ้าที่นี่จะงดงามไปด้วยทะเลดาว เต็มฟาก ฟ้า ส่วนเมื่อก้ม
มองลงไปยังเบื้องล่างจะเห็นแสงไฟที่ส่องสว่างจากทั้งสองอำเภอ
- ดอยอ่างขาง
ดอย
อ่างขาง ตั้งอยู่บนทิวเขาแดนลาว ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร
เป็นที่ตั้งของ
สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512
ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง”
เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่า
ก่อน
สภาพอากาศเย็น อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16.9 องศาเซลเซียส
มีชาวไทยภูเขาเผ่าจีนฮ่อ ไทยใหญ่ มูเซอดำ และปะหล่อง อาศัยอยู่ประมาณ 600
ครัวเรือนใน 6 หมู่บ้าน
ดอยอ่างขางมีสถานที่น่าสนใจมากมายเช่น
สถานนีเกษตรหลวงอ่างขาง, สวนบอนไซ, จุดชมวิวกิ่วลม, s,หมู่บ้านขอบดัง และ
หมู่บ้านนอแล สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม
ทดแทนการปลูกฝิ่น สถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง อยู่บนเทือกเขาแดนลาว
ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร
และมียอดดอยสูงถึง 1,928 เมตร พื้นที่รับผิดชอบประมาณ 26.52 ตารางกิโลเมตร
หรือ 16,577 ไร่ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512
ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ว่า “ให้เขาช่วยตัวเอง”
เปลี่ยนพื้นที่จากไร่ฝิ่นมาเป็นแปลงเกษตรเมืองหนาวที่สร้างรายได้ดีกว่าเก่า
ก่อน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมราษฎร
ที่หมู่บ้านผักไผ่ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
และได้เสด็จผ่านบริเวณดอยอ่างขาง ทอดพระเนตรเห็นว่าชาวเขาเผ่ามูเซอ
ซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ
ทำการปลูกฝิ่นแต่ยังยากจน ทั้งยังทำลายทรัพยากรป่าไม้
ต้นน้ำลำธารที่เป็นแหล่ง สำคัญต่อระบบนิเวศ
ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อส่วนอื่น ๆ ของประเทศได้
จึง
มีพระราชดำริว่าพื้นที่นี้มีภูมิอากาศที่หนาวเย็น มีการปลูกฝิ่นมาก
ไม่มีป่าไม้อยู่เลยและสภาพพื้นที่ไม่ลาดชันนัก ประกอบกับ
พระองค์ทรงทราบว่าชาวเขาได้เงินจากฝิ่นเท่ากับที่ได้จากการปลูกท้อพื้นเมือง
และทรงทราบว่าที่สถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาว ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้ทดลองวิธีติดตา ต่อกิ่งกับท้อฝรั่ง
จึงทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 1,500 บาท
เพื่อซื้อที่ดินและไร่ในบริเวณดอยอ่างขางส่วนหนึ่ง
ตั้งโครงการหลวงขึ้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ เมื่อ พ.ศ. 2512
โดยทรงแต่งตั้งให้ หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี
เป็นผู้สนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งมูลนิธิโครงการหลวง ใช้เป็นสถานีวิจัย
และทดลองปลูกพืชเมืองหนาวชนิด ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นไม้ผล ผัก
ไม้ดอกเมืองหนาว เพื่อเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรชาวเขา ในการนำพืช
เหล่านี้มาเพาะปลูกเป็นอาชีพ ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ได้พระราชทานนามว่า "สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง" สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง
ตั้งอยู่ในเขตบ้านคุ้มห มู่ที่ 5 ตำบลแม่งอน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรประมาณ
1,800 ไร่ มีหมู่บ้านชาวเขาที่สถานีฯ ให้การส่งเสริมและพัฒนาอาชีพรวม 6
หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านหลวง บ้านคุ้ม บ้านนอแล บ้านปางม้า บ้านป่าคา
และบ้านขอบด้ง ซึ่งประกอบไปด้วยประชากร 4 เผ่าได้แก่ ไทยใหญ่ มูเซอดำ
ปะหล่อง และจีนฮ่อ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 17.7 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 32 องศาเซลเซียสในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุด –3
องศาเซเซียสในเดือนมกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,075 มิลลิเมตรต่อปี
- อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว อำเภอเวียงแหง
จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น
โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง
มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น
ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ
ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย
ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร
ตาม
มติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้
ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ
และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน
จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง)
จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน
เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530
กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4
ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง)
หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่
9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86
ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ
และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ
ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10
ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า
เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำ
ที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กองอุทยานแห่งชาติได้
มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้
นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4
หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว
ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม
2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4
พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน
เป็นป่าต้นน้ำลำธาร
มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ
กอง
อุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532
เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ
เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะ
กรรมการอุทยานแห่งชาติ
เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง)
หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู)
บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน
ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่
เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป
ต่อ
มาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน
2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ
และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ
และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว
และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ
190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า
พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก
มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง
รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม
มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดย
ด่วน
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่ง ชาติ
โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว
และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบล
เปียงหลวง
ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกื้ดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง
จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ
ตำบลแม่ฮี้ ตำบลแม่นาเติง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538
มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร
นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81 ของประเทศไทย
- ถนนคนเดินท่าแพ
ถนนคนเดินท่าแพ
ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมือง อาทิตย์ เทศบาลเชียงใหม่
จะปิดถนนส่วนหนึ่งในเชียงใหม่ เพื่อให้ชาวบ้านนำสินค้าหัตถกรรมมาวางขาย
ถนนคนเดินที่นี่ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักท่องเที่ยวชาวไทยจากทุกภาคและ
ชาวต่างประเทศหลากหลายภาษาทั้งยุโรป เอเชีย ถนนคนเดินท่าแพ
อยู่บริเวณประตูเมืองท่าแพต่อไปยังถนนราชดำเนิน เปิดเฉพาะวันอาทิตย์
เวลาประมาณ 17.00 - 22.00 น. เป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่
มีสินค้าให้เลือกสรรมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสินค้าทางวัฒนธรรม เช่น
สินค้าพื้นเมือง จำพวกเครื่องประดับตกแต่ง เสื้อผ้า ของที่ระลึก กระเป๋า
ผ้าพันคอ โคมไฟ ฯลฯ หรือจะเป็นสินค้าแฟชั่นก็มีให้เห็นอยู่โดยทั่วไป
รวมทั้งของกิน เช่น ขนมจีนน้ำเงี้ยว/น้ำยา ของทานเล่น โรตี ฯลฯ
หากมาเยือนในช่วงอากาศหนาว ๆ เดินเที่ยวกาดกลางคืน
ถนนคนเดินเชียงใหม่ก็เพลิดเพลินไปอีกแบบหนึ่ง
ซึ่งที่นี่เป็นถนนคนเดินที่ใหญ่ที่สุดในเชียงใหม่และได้รับความสนใจอย่างมาก
จากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ
- ถนนคนเดินวัวลาย
ถนนคนเดินวัวลาย
ถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายเป็นเป็นถนนคนเดินยอดฮิตมากที่สุดแห่งหนึ่งของคนเชียงใหม่ นักท่องเที่ยวที่ขึ้นมารเชียงใหม่หากไม่สามารถเดิน
ถนนคนเดินท่าแพใน
วันอาทิตย์ก็มักจะมาเดินที่ถนนคนเดินวัวลายนี้
ถนนคนเดินวัวลายจะเปิดเฉพาะคืนวันเสาร์โดยจะทำการปิดถนนวัวลายที่
อยู่ใกล้กับประตูเมืองเชียงใหม่
มีความยาวเป็นหลักกิโลทำให้กว่าจะเดินไปกลับครบก็เมื่อยพอดู
ถึงกระนั้นก็ตามถนนคนเดินนี้ก็เต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นเข้ามา
จับจ่ายซื้อของกินรวมถึงซื้อของที่ระลึกต่างๆ
ถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายมีชื่อเสียงในเรื่องของเครื่องเงินสลักลวดลายซึ่ง
รู้จักกันดีในชื่อของ เครื่องเงินวัวลาย
นักท่องเที่ยวจะมีโอกาสได้เห็นการสลักเครื่องเงินกันแบบสดๆริมทาง
ซึ่งเมื่อมองย้อนอดีตไปจากหลักฐานเครื่องเงินวัวลายเริ่มต้นจากการสืบทอดมา
ตั้งแต่ครั้งที่เชียงใหม่ได้ขอเจรจาช่างฝีมือมาจากทางพุกาม ประเทศพม่า
และมีการสืบทอดกันเรื่อยมา
โดยเฉพาะเครื่องเงินของบ้านศรีสุพรรณซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณวัดศรีสุพรรณ(วัด
เงิน) เป็นช่างในคุ้มหลวงเมืองเชียงใหม่ในอดีต
ในสมัยนั้นเกือบทุกบ้านจะมีโรงงานขนาดเล็กประจำอยู่ที่บ้าน เรียกว่า
“เตาเส่า”
นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้เพลิดเพลินกับของกินและของที่ระลึกต่างๆแล้ว
ยังมีโอกาสได้เห็นการแสดงของศิลปินข้างถนนซึ่งส่วนมากจะเป็นการเล่นดนตรี
ซึ่งมีทั้งดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีจากคนตาบอด
รวมถึงศิลปินวัยรุ่นที่มาเล่นเพลงต่างๆ
ยิ่งถ้าช่วงหน้าหนาวการมาเดินเล่นบนถนนคนเดินเชียงใหม่วัวลายจะได้บรรยากาศ
เมืองเหนือมากยิ่งขึ้นไปอีก
- อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
ดอยอินทนนท์
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในท้องที่ อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และ อำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ 482.4 ตารางกิโลเมตร หรือ 301,500 ไร่ ประกอบไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย พาดผ่านจากประเทศเนปาล ภูฐาน พม่า เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สภาพ ภูมิประเทศทั่วไปประกอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน มีดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุด สูงจาก ระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร ยอดเขาที่มีระดับสูงรองลงมาคือ
ดอยหัวมดหลวง สูงจากระดับน้ำทะเล 2,330 เมตร ป่าอินทนนท์นี้เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่หอย แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงที่ ให้พลังงานไฟฟ้าที่
เขื่อนภูมิพล มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกต่างๆ โดยเฉพาะน้ำตกแม่ยะ ที่ได้ชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศ
ดอยอินทนนท์ เดิมมีชื่อว่า "
ดอยหลวงอ่างกา" ต่อมาได้ตั้งชื่อตามพระนามของพระเจ้าอินทวิชยนนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7
- อุทยานหลวงราชพฤกษ์
อุทยานหลวงราชพฤกษ์ เป็นสวนพฤกษศาสตร์ขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสถานที่ที่ใช้จัดงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และ มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนพรรษา 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยว ทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่ สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552 การตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2552 [1]ขอ พระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “
Royal Park Rajapruek”