Google

Saturday, January 17, 2015

Elephant training

ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่รักช้าง และธรรมชาติ ลองมาดู Elephant trainning น่ารักๆ กับ Rak Chang Elephant training

Rak Chang Elephant training ทัวร์รักช้าง เราจะให้ท่านได้พบกับ การท่องเที่ยวที่เน้นการอนุรักษ์ช้างและ ได้เห็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนกับช้างแบบธรรมชาติ อย่างใกล้ชิด ท่านจะได้เห็น การฝึกช้างเชิงสร้างสรรค์ Elephant training ที่ได้รับการฝึกฝนด้วยการดูแลและใส่ใจด้วยความรัก ไม่มีการทรมานช้างและทำลายธรรมชาติแต่อย่างใด Elephant Chiangmai พบวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ ของช้าง ที่คุณจะรื่นเริงและสนุกไปกับ ทริปอันแสนสนุก ที่เราจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญเกี่ยวกับช้าง Elephant Chiangmai การท่องเที่ยวแบบดูการแสดงของช้างต่าง ๆ หลายที่จะมีให้เห็นแบบทั่วไป หากท่านต้องการความแปลกใหม่ของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และใกล้ชิดกับสัตว์ป่าที่มีรูปร่างขนาดใหญ่ หรือที่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขนานนามให้ว่าเป็นเจ้าแห่งพงไพร ที่ตัวใหญ่ดุดัน ท่าจะได้สัมผัสกับการใช้ชีวิตแบบชาวบ้าน วิถีชีวิตแบบโบราณที่ใช้ชีวิตกับสัวต์ขนาดใหญ่ การอยู่ร่วมกันแบบเชิงอนุรักษ์อาศัพพึ่งพากันและกัน การท่องเที่ยวที่เราจะพาทุกท่านไป Elephant Training , Elephant Chiangmai นั่นเรารับรองว่า ทริปการท่องเที่ยวของท่านครั้งนี้จะต้องประทับใจ และรู้สึกได้ถึงการท่องเที่ยวอีกแบบหนึ่งที่ท่านไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน หากคุณต้องการและสนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้

Thai Elephant Why are white elephants so important in Thai culture? Essentially, white elephants are believed to be vital to the wellbeing and prosperity of the Kingdom. A major war ensued in 1549 when the king of Burma demanded seven white elephants belonging to King Mahachakkaphat of Ayutthaya, who was called Lord of the White Elephants. A white elephant was on the national flag until 1917, and a white elephant still emblazons the ensign of the Royal Thai Navy. The term 'white elephant' is very confusing in two ways. First, the English expression 'white elephant' means something that is ostensibly of great value but in fact a heavy burden, whereas to Thai people these animals are of inexpressible worth. (All 'white elephants' must be gifted to the King.) Second, these 'white elephants' are not white at all, not even being, as is commonly misunderstood, albinos. Even to elephant experts they look very much like normal, gray elephants. Nonetheless, even Thai people commonly but incorrectly call these animals 'albino elephants' rather than the proper term, chang samkhan, which actually translates as 'auspicious elephant'. Only palace experts can determine what qualifies as an auspicious elephant and then assign it a rank. Using ancient and arcane rules, experts classify auspicious elephants into one of four families - each family having its home in a mythological forest in the Himalayas - and then, using seven basic criteria, assign them hierarchical ranks. Thailand's auspicious elephants were until 30 years ago kept in cramped conditions in Chitralada Palace in Bangkok, but now each has its own green, airy day quarters and an opulent stall where it is taken every night.

Elephant Training
เมื่อกล่าวถึงสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีชีวิตอยู่จนทุกวันนี้แล้ว ทุกคนย่อมจะต้องคำนึงถึงช้างเป็นอันดับแรก ช้างเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับคนไทยมาตั้งแต่ครั้งโบราณจนปรากฏ อย่างเด่นชัดในประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและประเพณีต่าง ๆ อย่างมากมาย แต่ข่าวช้างป่าของไทยกำลังถูกทำลายจนลดจำนวนใกล้จะหมดไปจากประเทศ และข่าวช้างป่าถูกพรานป่ายิงบาดเจ็บสาหัสจนสิ้นชีวิตไปแล้วที่จังหวัด บุรีรัมย์ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าเพื่อนที่เคยมีบทบาทอย่างสำคัญต่อชีวิตคนไทย มีส่วนร่วมในการทำศึกสงครามกู้ชาติมาแต่ครั้งอดีตกำลังจะจากไปอย่างไม่มีวัน กลับ
ช้างไทย (Elephas maximus) เป็นช้างชนิดหนึ่งในสองชนิดที่ยังเหลืออยู่ในโลก พบทั่วไปในบริเวณเอเชียตอนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกชนิดหนึ่งคือช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) ซึ่งแตกต่างจากช้างไทยตรงที่มีใบหูใหญ่ หัวหลิม หลังแอ่น ปลายงวงมีอวัยวะคล้ายนิ้วมือเพียงอันเดียว มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ส่วนช้างไทยมีใบหูเล็ก หัวโหนกออกเป็นสองพู พลังโค้งปลายงวงมีอวัยวะคล้ายนิ้วสองอัน และมีงาเฉพาะในตัวผู้
ปริมาณประชากรของช้างในธรรมชาติในประเทศไทย ประมาณกันว่าอยู่ในราว 1,000-1,500 ตัวเท่านั้น โดยกระจายกันอาศัยอยู่ในป่าที่มีพื้นที่กว้างและมีแหล่งอาหารและน้ำอุดม สมบูรณ์ส่วนใหญ่ในบริเวณอุทยานแห่งชาติ เช่น เขาใหญ่ ทุ่งแสลงหลวง และแก่งกระจาน เป็นต้น และในบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เช่น ทุ่งใหญ่นเรศวร ห้วยขาแข้ง เขาสอยดาว และคลองนาคา เป็นต้น
ช้างป่าจะอยู่รวมกันเป็นโขลง มีจำนวนสมาชิกตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป โดยมีตัวเมียที่มีอายุมากที่สุดเป็นผู้นำฝูง ทำหน้าที่พาโขลงไปหากินตามแหล่งอาหารต่าง ๆ และคอยพาโขลงหนีภัย สำหรับช้างตัวผู้ที่มีอายุ 16-19 ปี จะมีลำตัวขนาดใหญ่และงายาว มักชอบแยกตัวออกมาอยู่ตามลำพังและจะเข้าฝูงเพียงเพื่อการผสมพันธุ์เท่านั้น ช้างตั้งท้องนาน 22 เดือน หลังจากคลอดลูกแล้วช้างจะไม่ตั้งท้องอีกนานประมาณ 2 ปี เพราะฉะนั้นใน 4 ปี จะมีลูกช้างเกิดใหม่เพียง 1 ตัวต่อ 1 แม่เท่านั้น
ช้างจะใช้เวลาส่วนใหญ่ประมาณ 17-19 ชั่วโมงในการกินอาหาร ช้างเป็นสัตว์ที่กินจุมาก แต่ละตัวจะกินอาหารหนัก 150 กิโลกรัมต่อวัน และดื่มน้ำประมาณ 200 ลิตรต่อวัน อาหารของช้างได้แก่ หญ้า ไผ่ หวาย ปาล์ม กล้วยป่าและพืชล้มลุกหลายชนิด รวมทั้งเปลือกไม้ยืนต้นอีกหลายชนิด เนื่องจากเป็นสัตว์ที่กินจุนี้เอง ช้างโขลงหนึ่ง ๆ จะไม่อยู่ในป่าแห่งหนึ่งนานหลายวัน เส้นทางหากินของช้างมักจะมีลักษณะเป็นวงกลมย้อนกลับมาที่เดิมเสมอ ปัจจุบันโขลงช้างส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณพื้นที่จำกัดจึงขาดความเหมาะสมใน การดำรงชีวิตและมีปริมาณอาหารไม่เพียงพอต่อการบริโภค ช้างป่าเริ่มลงมาหาข้าวและพืชไร่กินตามแนวเขตโดยรอบแหล่งอาศัย ทำให้ถูกยิงตายและบาดเจ็บอยู่เนือง ๆ นอกจากนี้ช้างยังถูกล่าเพื่อเอางาและอวัยวะเพศผู้ซึ่งมีราคาสูงมาก อีกทั้งช้างที่ถูกแยกให้อยู่เป็นกลุ่มเดียวจะมีการผสมพันธุ์กันเองภายในโขลง ทำให้ลักษณะทางพันธุกรรมด้อยลงเรื่อย ๆ อาจได้พันธุ์ที่อ่อนแอ ซึ่งจะนำ ไปสู่การสูญพันธุ์ของโขลงช้างไปในอนาคต
Elephant Training

CONTACT US Rak Chang Elephant Training Address : 27 Sanambinkao Suthep Muang Chiangmai 50200 Tel : 053-272087 ,091-0766254 ,086-9126463